วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

การทำภาพ HDR จากโปรแกรม Photoshop

เพื่อนๆคงจะเคยเห็นหรือได้ยินเกี่ยวกับ HDR ที่มีชื่อเรีกเต็มๆว่า High Dynamic Range ซึ่งก็คือภาพที่มีรายละเอียดของส่วนมืดและส่วนสว่างกว้างมาก ซึ่งวันนี้เราจะมาลองทำภาพ HDR โดยใช้ Photoshop เพื่อการเก็บรายละเอียดของภาพและไม่ทำให้ภาพดูหลอกตาเกินไปครับ





ลองดูภาพนี้นะครับจะเห็นได้ว่าผมถ่ายแล้วยังไม่สามารถเก็บรายละเอียดของพื้น ดินได้หมดเพราว่าความต่างแสงระหว่างพื้นดินกับท้องฟ้ามากมายครับ


ก่อนที่เราจะมาใช้ Photoshop ทำ HDR นั้นมาทำความเข้าใจในหลักการคร่าวๆนิดนึงนะครับ โดยหลักการแล้วโปรแกรม Photoshop หรือโปรแกรมอื่นๆที่คล้ายๆกันเช่น Photomatix นั้นจะทำการนำภาพหลายค่าแสงมาทำการรวมกัน เพราะฉะนั้นเราต้องถ่ายภาพหลายค่าแสงมาก่อนนะครับ ซึ่งโดยปกติแล้วเราต้องทำดังนี้นะครับ





1. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องเพราะเราต้องถ่ายภาพเดิมหลายค่าแสงโดยที่ภาพเราต้อง ไม่ขยับกล้องไปไหนเลย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องใช้ขาตั้งกล้องครับ




2. ทำการวัดแสงตามที่เราถนัดนะครับ โดยส่วนมากผมจะใช้การวัดแสงแบบเฉลี่ยครับ แล้วทำการถ่ายคร่อมจำนวนStop เช่น -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3 เป็นต้น โดยปกติแล้วผมมักจะถ่ายไว้ขั้นต่ำ 3 ค่าแสงคือ แสงพอดี แสงอันเดอร์ แสงโอเวอร์ ในที่นี้ไม่มีสูตรตายตัวนะครับว่าต้องถ่ายกี่ stop หรือกี่ภาพ







หลังจากที่เราก็ได้ภาพที่เราต้องการมาแล้วนะครับก็มาเริ่มเปิดโปรแกรม Photoshop ได้เลยนะครับ



1. เลือก File>Automate>Merge to HDR



2. หลังจากนั้นก็จะมี Pop up ขึ้นมานะครับ ให้เรากด Browse เพื่อเลือกภาพนะครับ


3. ผมเลือกภาพที่ผมถ่ายคร่อมไว้ทั้งหมด 5 ภาพนะครับ นอกจากนั้นเพื่อนๆต้องติ๊กตรงช่อง Attempt to Automatically Align Source Image ด้วยนะครับ แล้วกดโอเคครับ




4. โปรแกรม Photoshop ก็จะทำการรวมภาพให้คร่าวดังภาพนะครับ




5. โดยปกติแล้วผมจะทำการเลือกภาพบางค่าแสงนะครับ ลองดูตัวอย่างนะครับพบว่าท้องฟ้ามีรอยดำเป็นปื้นๆเนื่องมากจากการรวมกันของหลายภาพ




6. ในที่นี้ผมทำการเอาภาพ EV +3, EV0 และ EV -1.32 ออกนะครับ จะเห็นได้ว่าภาพดูสมจริงขึ้นไม่หลอกตาเรา หลังจากนั้นเราก็ทำการปรับความสว่างตามใจเราเล็กน้อย โดยการเลื่อน slide bar ของ curve ด้านบนขวานะครับ ปรับตามใจเรานะครับ




ในที่นี้แล้วแต่ความชอบของบุคคลนะครับเพื่อนๆอาจจะไม่เอาภาพออกก็ได้นะครับ



7. ต่อมาเราต้องเลือก bit depth ในที่นี้จะเห้นได้ว่ามีให้เลือก เลือก 3 อันคือ 32 Bit/Channel, 16 Bit/Channel และ 8 Bit/Channel เราต้องเลือก 16 Bit/Channel หรือ 8 Bit/Channel นะครับเพราะถ้าเราเลือก 32 Bit/Channel เราจะปรับได้แค่ ความสว่างโดยการเลื่อน slide bar ของ curve ด้านบนขวาเท่านั้นเองนะครับ ในที่นี้ผมเลือก 16 Bit/Channel แล้วกดโอเคครับ




8. ต่อมาก็จะมี pop up ที่เรียกว่า HDR Conversion ขึ้นมานะครับ เราจะสามารถเลือกวิธีการปรับแต่งค่าแสงของภาพได้ 4 วิธีนะครับคือ Exposure and Gamma, Highlight Compression, Equalize Histogram และ Local Adaption นะครับ มาลองดูแต่ละตัวนะครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง




9. Exposure and Gamma ใช้ปรับความสว่างและความต่างแสงโดยการปรับ Exposure กับ Gamma




10. Highlight Compression อันนี้ปรับอะไรไม่ได้เลยครับโปรแกรมจัดมาให้เราเลย




11. Equalize Histogram อันนี้ปรับอะไรไม่ได้เลยเช่นกันครับโปรแกรมจัดมาให้เราเลย




12. Local Adaption เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการปรับ แต่งครับเพราะเราสามารถปรับค่าความสว่าง contrast และ ปรับ curve ได้ซึ่งจะเห็นได้ว่าเราสามารถจัดการภาพได้มากมายครับ ในที่นี้ผมใช้ radius ที่ 16 px (การใส่ค่า radius มากๆจะทำให้เกิดค่าไฮไลท์มากซึ่งจะทำให้ภาพเกิอ Haloได้นะครับ)และ Threshold ที่ 0.50 ครับ



นอกจานั้นให้เราเปิดTonal Curve and Histogram เพื่อที่จะจัดการภาพโดยรวม ในที่นี้ผมเลือกที่จะดึงค่าโทนภาพทั้งหมดลงมาให้มืดหน่อยนะครับ เพื่อให้ภาพดูสมจริงไม่หรอกตามากครับ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราอาจจะอยากได้ภาพที่ดูเวอร์แปลกๆก็ได้นะครับ ยังไงต้องลองปรับแต่งตามใจนะครับ เสร็จแล้วก็กด OK ครับ




13. เราก็จะได้ภาพ HDR แล้วครับ จะเห้นได้ว่าภาพนี้มีส่วนของหินมากขึ้น โดยที่ภาพนั้นดูไม่หลอกตามากครับ